เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา1บางพวก วินิปาติกะ2บางพวก
นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ 1
สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้น
พรหมกายิกา เกิดในปฐมฌาน นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ 2
สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้น
อาภัสระ นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ 3
สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน(และ)มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก
เทพชั้นสุภกิณหะ นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ 4
สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “อากาศไม่มี
ที่สุด” นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ 5
สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง เข้าถึง
วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” นี้คือวิญญาณัฏฐิติ
ที่ 6
สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง
เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “ไม่มีอะไรเลย” นี้คือ วิญญาณัฏฐิติ
ที่ 73

เชิงอรรถ :
1 เทวดา ในที่นี้หมายถึง เทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง 6 ชั้น (ขุ.จู.อ. 83/57)
2 วินิปาติกะ ในที่นี้หมายถึง พวกเวมานิกเปรตคือพวกเปรตที่พ้นจากอบาย 4 มียักษิณีผู้เป็นมารดาของ
ปุนัพพสุ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของปุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน
คือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีสัญญาต่างกันด้วยติเหตุกะ ทุเหตุกะ
และอเหตุกะเหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มากเหมือนพวกเทพ บางพวกได้รับทุกข์ใน
ข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ ดุจการบรรลุธรรมของ
ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น (ขุ.จู.อ. 83/57)
3 องฺ. สตฺตก. 23/44/35-36

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :290 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ 7 ด้วยอำนาจปฏิสนธิอย่างนี้ รวมความ
ว่า ซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด
คำว่า โปสาละ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่าพระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ

ว่าด้วยพระตถาคต
คำว่า รู้ยิ่ง ในคำว่า ตถาคตรู้ยิ่ง อธิบายว่า พระตถาคตทรงรู้ยิ่ง คือ ทรงรู้
แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ถ้าแม้เรื่องอดีต
เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์2เรื่อง
อดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต
ก็ไม่พยากรณ์เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบ
ด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ถ้าแม้
เรื่องอนาคต ฯลฯ จุนทะ ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถึงแม้เรื่องปัจจุบัน
เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น
ถึงแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ตถาคตเป็นกาลวาที3

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48
2 พยากรณ์ ในที่นี้หมายถึงการตอบปัญหา หรือการอธิบายปัญหาให้ชัดเจน
3 กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาที่เหมาะ (ขุ.จู.อ. 83/64)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :291 }